วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

ฉวีวรรณ โยคิน (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177) ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทยไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม
         คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2544) และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching)ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ


รูปแบบการเรียนรวม
        ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
    1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
    2. รูปแบบการร่วมทีม (Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 (ครูที่สอนชั้นป.2/1 และป.2/2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative/Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
        3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
        3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
        3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่างๆ(Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
        3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา

        3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชาจากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน




https://www.gotoknow.org/posts/548117 ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบรวมไว้ว่า 
        การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล


ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
        • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
        • เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
        • โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
        • โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
        • โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
        • เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
        • โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
        • โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
        • โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด


หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
        แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
        1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
        2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
        3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ


จินตหรา เขาวงค์ (http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html)
ความหมายและความสำคัญของการเรียนรวม
        การเรียนรวม หมายถึง การศึกษาแบบเรียนรวม ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทย ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับ ทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ว่าหมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก นั่นคือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน “ ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
การเรียนรวมมีความสำคัญ คือ เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา





สรุปการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
        การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม คือ การจัดโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนให้บรรลุขีดศักยภาพในการศึกษาทั่วไป เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้ การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบของโรงเรียนที่จัดให้
การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไปการเรียนรวมในประเทศไทย แม้ว่าจะได้ดำเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของเด็ก การจัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเกื้อกูลอันจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรวมดำเนินไปได้ การปรับวิธีสอน และการปรับวิธีการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน อีกประการหนึ่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ขาดประสิทธิภาพอาจเป็นผลเนื่องมาจากความเข้าใจผิด และกลไกที่เป็นปัญหาหลายประการที่มาจากทั้งปัจจัยภายในโรงเรียนเอง และปัจจัยภายนอกโรงเรียน ทำให้การเรียนรวมดำเนินไปในวงจำกัดและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรแม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิด เองได้ รัฐ และนักการศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป






ที่มา


ฉวีวรรณ โยคิน.[online].(http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177).การศึกษาแบบเรียน รวม.สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2558.
https://www.gotoknow.org/posts/548117.การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม.เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2558.
จินตหรา เขาวงศ์.[online].(http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html).การเรียนแบบรวมและการเรียน ร่วม.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2558.

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




( http://eduweb.kpru.ac.th/wbi/documents/pdf/Child_Center.pdf )
ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
        การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม(กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์เดชะคุปต์, 2550)



ยาเบ็น เรืองจรูญศรี (http://www.kroobannok.com/blog/39847.)
ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
        การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน” และ บทบาทของ “ ครู” เป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้” ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้



ศ.นพ.ประเวศ วะสี (http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า 
        ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ใหม่จากการเอาวิชาเป็นตัวตั้งไปสู่การเอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง เรียนจากประสบการณ์และกิจกรรม จากการฝึกหัดจากการตั้งคำถามและจากการแสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้กล้าแข็ง ทำงานเป็น ฝึกคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การรวมกลุ่ม การจัดการ การรู้จักตน จึงเห็นได้ว่า “การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ทักษะ และเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป้ฯ คนเก่ง คนดีและความสุข”ตามเป้าหมายการจัดการศึกษาในปัจจุบัน





สรุปการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        จากแนวความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


อ้างอิง
        (http://eduweb.kpru.ac.th/wbi/documents/pdf/Child_Center.pdf).การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2558.
        ยาเบ็น เรืองจรูญศรี.[online].(http://www.kroobannok.com/blog/39847.).การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผูเรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2558.
        http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2558.

วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee Work Method)

https://parkcom.wordpress.com/ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไว้ดังนี้
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee Work Method)
 ความหมาย
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน หมายถึง เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาช่วยกันค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย ทุกคนจะต้องดำเนินการตามที่มอบหมายให้ เป็นวิธีที่ช่วยในการฝึกฝนนักเรียนให้ได้รับประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงานแต่ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ ครูจะต้องวางแผนให้นักเรียนทุกคนในแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด

ความมุ่งหมาย
1.เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานอย่างมีระบบและเป็นระเบียนวินัย
2.เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการศึกษาค้นคว้าและการค้นหาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3.เพื่อฝึกให้นักเรียนเลือกที่จะทำตามที่สนใจ ความถนัด ความสามารถ 

ขั้นตอนการสอน
ขั้นตอนที่1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็น
ขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
ขั้นตอนที่2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือที่
ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ขั้นตอนที่3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นตอนที่4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน ในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
ในการปฏิบัติงาน ในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป 
ข้อดี
1.สามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเต็มที่
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ
3.ผู้เรียนด้วยความกระตือรือร้น เพราะได้ลงมือปฏิบัติตลอดเวลา
4.ผู้สอนสามารถใช้ประกอบได้ทุกวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.ทำงานเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะผู้เรียนได้ช่วยกันคิดช่วยกันทำได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ข้อจำกัด

ถ้าผู้สอนไม่เตรียมขั้นตอนในการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอน ไม่เตรียมงาน มอบหมายมาอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จก็จะไม่บรรลุตามเป้าหมาย

http://www.krutermsak.in.th/index.php/2013-02-14-03-15-32/2-uncategorised/26-2013-02-22-06-08-19 ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไว้ดังนี้
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
          หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันค้นคว้าหรือทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะได้ลงมือปฏิบัติด้วยจนเอง
 ความมุ่งหมาย
          1.เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ
2.เพื่อฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถนำไปใช้
เป็นประโยชน์ในชีวิตได้
3.เพื่อฝึกคุณลักษณะนิสัยของผู้เรียน เช่น ความรับผิดชอบในการทำงาน ความมี
ระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจฯลฯ
4.เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปฯลฯ
5.เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก
 ขั้นตอนการสอน
          1.ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดเตรียมวางแผนการสอน โดยเตรียมหัวข้องานที่จะ
มอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม กำหนดจุดมุ่งหมาย เวลา วิธีการ ตลอดจนเตรียมสื่อการสอน
และเอกสารที่ต้องใช้ในการสอน
2.ขั้นดำเนินการสอน ประกอบด้วย
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน ให้ผู้เรียน
เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ อาจใช้วิธีทบทวนความรู้เดิม สนทนา ซักถามอภิปรายนำเรื่อง
นอกจากนี้ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การสอน แจ้งขั้นตอนการทำกิจกรรม กำหนด
เวลา และข้อตกลงอื่น ๆให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันก่อนเข้ากลุ่มทำกิจกรรม
3.ขั้นสอน มีลำดับดังนี้
3.1แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม ให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มที่น่าสนใจ
ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ แจกเอกสาร บัตรคำถาม หรือสื่อการเรียนที่กลุ่ม
จำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม
3.2ให้กลุ่มทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
3.3ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลงานของกลุ่มตามที่ผู้สอนกำหนด
4.ขั้นสรุป
4.1ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกัน เพื่อสรุปความสำคัญจากการรายงานของแต่ละกลุ่ม
และผู้สอนให้ข้อเสนอแนะพร้อมแนวความคิดในการประยุกต์ใช้
4.2สนทนาและซักถามผู้เรียนถึงประเด็นปัญหาสำคัญเพื่อเป็นการวัดผล
5.ขั้นประเมินผล
เป็นขั้นที่ผู้สอนประเมินผลการทำงานกลุ่มของผู้เรียนว่า ผู้เรียนเกิดความรู้ ความ
เข้าใจในบทเรียน เกิดเจตคติ และทักษะในการทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด บรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่ ผู้สอนควรได้ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ด้วย เช่นความกระตือรือร้นในการแบ่งกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ ความกล้าแสดงออก ลักษณะการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ฯลฯ เป็นต้น

ขั้นตอนวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
-หัวข้องาน
-จุดมุ่งหมาย
-สื่อการเรียนการสอน

 2.ขั้นดำเนินการสอน
-ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
3.ขั้นประเมินผล
-ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
 ข้อดี
1.ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกหน้าที่ ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่ม
ฝึกการช่วยเหลือกันในการทำงาน ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ฯลฯ
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
2.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆด้วยตนเอง ฝึกการ
เขียนรายงานและฝึกการพูดเสนอผลงานต่อที่ประชุม
3.เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถความถนัด ความสนใจ
ของผู้เรียนแต่ละคน
4.ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลา
5.วิธีนี้ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอนได้ทุกรายวิชา ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเอง
6.ทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และในเวลาอันจำกัด เพราะผู้เรียนได้ช่วยกันคิด
ช่วยกันทำ และได้พึ่งพาอาศัยกัน
ข้อจำกัด
ถ้าผู้สอนไม่เตรียมขั้นการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอน ไม่เตรียมงานมอบ
หมายมาอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จของการสอนจะไม่บรรลุตามเป้า

การนำวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไปใช้
1.ผู้สอนต้องเตรียมการสอน และมอบหมายงานกลุ่มให้ผู้เรียนให้เหมาะสมกับวัย
ความสามารถและเวลาเรียน
2.งานที่มอบหมายควรอยู่ในขอบเขตของหลักสูตร และเสริมความรู้ ความเข้าใจ
ในบทเรียนอย่างแท้จริง
3.ในกรณีที่มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ผู้สอนต้องกำหนดปริมาณงาน
และความยากง่ายของงานให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
4.ขณะที่ผู้เรียนทำงานกลุ่ม ผู้สอนต้องดูแลผู้เรียนให้ร่วมรับผิดชอบการทำงานกลุ่ม
ทั่วทุกคน บางครั้งอาจต้องกระตุ้นผู้เรียนบางคนที่ไม่สนใจทำงานกลุ่ม
5.ผู้สอนต้องเอาใจใส่ดูแล ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียน และย้ำระเบียบ
วินัยในการทำงานกลุ่ม ถ้าเกิดความวุ่นวายในกลุ่ม
6.ผู้สอนควรได้สรุปความรู้ความคิด ประเด็นสำคัญของงานที่ผู้เรียนทำ ให้ผู้เรียน
ได้รับตรงกัน หลังจากที่ผู้เรียนเสนอผลงานกลุ่มแล้ว
7.ผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมกลุ่มหลายๆลักษณะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้มากที่สุด
โดยอาจแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนได้เล่นเกม ทำการทดลอง แสดงบทบาท ฝึกทักษะแข่งขัน
ตอบปัญหาศึกษาจากชุดการสอน แก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
8.การจัดกลุ่ม จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เวลา ลักษณะ
เนื้อหาและกิจกรรมที่จะจัด จากประสบการณ์การสอนพบว่า ขนาดกลุ่มย่อยมีสมาชิก ประมาณ 4-5 คนจะเหมาะสม เพราะทุกคนในกลุ่มจะร่วมกันคิดแก้ปัญหา หรือทำงานที่
รับมอบหมายโดยทั่วถึงกันทุกคน เพราะให้ความร่วมมือต่อกลุ่มเป็นอย่างดี



http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=76ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไว้ดังนี้
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานนั่นคือส่งเสริมการทำ งานเป็นทีม
2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบวินัย รู้จักทำหน้าที่
3. เพื่อฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดย
ปฏิบัติงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และมีประสบการณ์ตรงในการทำงาน
4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ

ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็น
ขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือที่
ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน ในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
ในการปฏิบัติงาน ในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป

ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง

ข้อสังเกตของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. ถ้าครูเพิ่งเริ่มใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นครั้งแรก ครูควรดูแลนักเรียนใกล้ชิด
เช่น ต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่มและนอกกลุ่ม รวมทั้งประสานงานกับครู
2. หน้าที่การเป็นหัวหน้ากลุ่ม ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
3. การปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด


สรุป

วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะได้ลงมือปฏิบัติด้วยจนเองครูจะต้องวางแผนให้นักเรียนทุกคนในแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
ความมุ่งหมาย เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานอย่างมีระบบและเป็นระเบียนวินัย  นักเรียนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการศึกษาค้นคว้าและการค้นหาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนเลือกที่จะทำตามที่สนใจ ความถนัด ความสามารถ ฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตได้ เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปฯลฯ เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก

ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็น
ขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือที่
ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน ในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
ในการปฏิบัติงาน ในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
          ข้อดี
1.ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกหน้าที่ ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่ม
ฝึกการช่วยเหลือกันในการทำงาน ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ฯลฯ
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
2.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆด้วยตนเอง ฝึกการ
เขียนรายงานและฝึกการพูดเสนอผลงานต่อที่ประชุม
3.เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถความถนัด ความสนใจ
ของผู้เรียนแต่ละคน
4.ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน เพราะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลา
5.วิธีนี้ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอนได้ทุกรายวิชา ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเอง
6.ทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และในเวลาอันจำกัด เพราะผู้เรียนได้ช่วยกันคิด
ช่วยกันทำ และได้พึ่งพาอาศัยกัน

ข้อจำกัด
ถ้าผู้สอนไม่เตรียมขั้นการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอน ไม่เตรียมงานมอบ
หมายมาอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จของการสอนจะไม่บรรลุตามเป้า


อ้างอิง
https://parkcom.wordpress.com/. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 58
http://www.krutermsak.in.th/index.php/2013-02-14-03-15-32/2-uncategorised/26-2013-02-22-06-08-19 . วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 58
http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=76 . วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 58